ສະບາຍດີຍິນດີຕ້ອນຮັບທຸກໆທ່ານເຂົ້າສູ່ເວັບໄຊ ເວັບນີ້ຈະພາທ່ານຮຽນຮູ້ໄປກັບເທັກໂນໂລຊີ ການຕິດຕໍ່ສື່ສານ ສາລະໜ້າຮູ້ ເຫດການຕ່າງໆ ບໍ່ວ່າທ່ານຈະຢູ່ໃສບ່ອນໃດຂອງໂລກ ກໍ່ສາມາດຕິດຕໍ່ສື່ສານຫາກັນໄດ້ ກັບໄອທີ ໂລກຂອງຄົນຍຸກໃໝ່ ຍຸກແຫ່ງການຕິດຕໍ່ສື່ສານ.

ກ່ຽວກັບຂໍ້ມູນນັກສືກສາສາຍໄອທີ IT.ປີ 2 ວິຊາ: ອິນເຕີເນັດ: ກຸ່ມ: https://khamchan123.blogspot.com, ສົນໃຈລົງໂຄສະນາຂອງທ່ານຕິດຕໍ່ໄດ້ທີ່, E-mail: khamchan9358@gmail.com ຫຼື ຕິດຕໍ່ໄດ້ທີ່ເບີ:020 9608573 , 1. ຊື່ ພຮະ ຄຳຈັນ ທຳມະວົງ ແມ່ນເປັນຜູ້ຄວບຄຸມທັງໝົດ ຮຽນຢູ່ ວິທະຍາໄລ ທອງສະບາ ບໍ່ແກ້ວ ສາຍ ໄອທີ ວ.ດ.ປ ເກີດ 2./4/.1998 ທີ່ ບ້ານ ນ້ຳເດື່ອ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ ປະຈຸບັນຢູ່ບ້ານ ປາກຮາວເໜືອ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ. ເບີໂທ 020 96085734 KhamChan Thammavong ,2.ຊື່ ທ້າວ ປານ ຂັນທະວົງ ແມ່ນເປັນທີ່ປືກສາ ຮຽນຢູ່ ວິທະຍາໄລ ທອງສະບາ ບໍ່ແກ້ວ ສາຍ ໄອທີ ວ.ດ.ປ ເກີດ 14./3/.1998 ທີ່ ບ້ານ ສົມສະນຸກ ເມືອງ ຜ້າອຸດົມ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ ປະຈຸບັນຢູ່ບ້ານ ຕິນທາດ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງບໍ່ແກ້ວ. ເບີໂທ 020 54264461 https://web.facebook.com/pan.khanthavong.9,3.ຊື່ ທ້າວ ໄຊຍະສິດ ວຸດສະວົງ ແມ່ນເປັນທີ່ປືກສາ ຮຽນຢູ່ ວິທະຍາໄລ ທອງສະບາ ບໍ່ແກ້ວ ສາຍ ໄອທີ ວ.ດ.ປ ເກີດ 8./8/.1997 ທີ່ ບ້ານ ບ້ານດານ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ ປະຈຸບັນຢູ່ບ້ານ ວຽງໃໝ່ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ. ເບີໂທ 020 5443540 https://web.facebook.com/profile.php?id=100039162977905

/

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ทำไมกฐินจึงไม่เป็นกองเหมือนผ้าป่า

 ทำไมกฐินจึงไม่เป็นกองเหมือนผ้าป่า

------------------------------------


ก็ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ทำไมผ้าป่าจึงเป็น “กอง”


แรกเริ่มเดิมทีนั้น ผ้าที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาใช้นุ่งห่ม มีพุทธานุญาตให้เอาผ้าที่เขาทิ้งแล้วเก็บมาซัก เย็บ ย้อม ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช่นนั้นมีคำเรียกว่า “บังสุกุลจีวร” แปลเอาความว่า “ผ้าเปื้อนฝุ่น”


โปรดกำหนดความหมายนี้ไว้ให้แม่น


ต่อมา ชาวบ้านเห็นความลำบากของพระ จึงเอาผ้าไปวางไว้ตามทางที่รู้ว่าพระจะผ่าน ความประสงค์คือจะให้พระเอาผ้านั้นไปทำจีวร เป็นการสงเคราะห์ให้พระมีความสะดวกมากขึ้น ทั้งตนเองก็ได้บำเพ็ญบุญทานมัยด้วย


กิริยาที่เอาผ้าไปวางไว้ตามทางเช่นนั้นเรียกว่า “ทอดผ้า” อันเป็นที่มาของคำว่า “ทอดผ้าป่า” ซึ่งอาจเป็นเพราะแต่เดิมมักทำกันตามป่าอันเป็นสถานที่พระท่านพำนักอาศัย


เหตุที่ไม่ถวายผ้าไปตรงๆ เนื่องด้วยยังไม่มีพุทธานุญาตให้พระรับผ้าที่มีผู้ถวาย


ภายหลังแม้มีพุทธานุญาตให้พระรับผ้าที่มีผู้ถวายได้ เรียกผ้าเช่นนี้ว่า “คฤหบดีจีวร” แต่ก็มีพระส่วนหนึ่งที่ยังถือหลักใช้บังสุกุลจีวรแบบเดิม เป็นการฝึกหัดขัดเกลาตนเองให้มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และจัดเข้าเป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง


หลักเดิมอย่างหนึ่งของการทอดผ้าป่าก็คือ ผู้ทอดจะไม่แสดงตัวให้ปรากฏ เป็นการยืนยันว่าผ้านั้นไม่มีเจ้าของ หรือเจ้าของสละแล้ว คำชักผ้าป่าของเดิมก็ว่า -


“อิมํ ปํสุกูลจีวรํ อสฺสามิกํ มยฺหํ ปาปุณาติ”

แปลว่า “บังสุกุลจีวรนี้ไม่มีเจ้าของ ย่อมถึงแก่เรา”

ถอดเป็นภาษาพูดว่า “ผ้านี้ไม่มีเจ้าของ ฉันเอานะ”


ธรรมเนียมทอดผ้าป่านี้ชาวพุทธในบ้านเมืองเราได้ทำสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้


เมื่อ ๑๐๐ ปีหรืออย่างน้อยก็ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การทอดผ้าป่าแบบเจ้าของไม่แสดงตัวยังทำกันอยู่ทั่วไป คนสมัยเก่าทั้งพระทั้งชาวบ้านที่รู้ธรรมเนียมเช่นนี้ยังมีอยู่มาก


ผมเป็นสามเณรอยู่ที่ถ้ำเขาพลอง ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๐๕ วันหนึ่งมีเสียงประทัดดังขึ้นในละเมาะป่าข้างกุฏิ หลวงลุงที่อยู่ด้วยกันบอกว่า เณรไปดูซิ ท่าจะมีคนทอดผ้าป่า


เมื่อออกไปดู ก็เห็นสิ่งที่เรียกกันว่า “ผ้าป่า” จริงๆ คือมีผลไม้ตามฤดูกาลกองหนึ่ง ข้าวสารถุงหนึ่ง ของใช้อื่นๆ อีก ๒-๓ อย่าง มีผ้าสบงผืนหนึ่งพาดไว้ข้างบน ของทั้งหมดกองอยู่กับพื้น


ผ้าป่านั้นต้องวางไว้กับพื้น เพราะคำว่า “บังสุกุลจีวร” ที่แปลว่า “ผ้าเปื้อนฝุ่น” เป็นพยานอยู่ในตัว คือเพราะวางไว้กับพื้นจึงเปื้อนฝุ่น


การเอาผ้าและของอื่นๆ วางไว้กับพื้น เรียกเป็นคำกริยาว่า “กอง” เช่นที่เราพูดว่า เอากองไว้ตรงนั้น เอากองไว้ตรงโน้น


และด้วยเหตุนี้ จึงมีลักษณนามเรียกผ้าป่าว่า “กอง” เช่น ผ้าป่ากองหนึ่ง ผ้าป่า ๒ กอง


ผ้าป่านั้นคนหนึ่งทอดแล้ว อีกคนหนึ่งมาทอดอีกก็ได้ ทอดพร้อมกันกี่เจ้าภาพก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน และไม่จำกัดเวลา ผ้าป่าจึงมีได้หลายกอง


ทำไมผ้าป่าจึงเป็น “กอง” หรือจึงเป็นกองๆ มีที่ไปที่มาดังว่ามานี้


...................


แต่ “กฐิน” นั้นมีที่ไปที่มาไม่เหมือนผ้าป่า


กฐินเกิดจากการที่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุช่วยกันทำจีวรผืนหนึ่งแล้วยกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน เป็นการแสดงออกซึ่งความสามัคคีมีน้ำใจ เรียกการทำเช่นนั้นว่า “กรานกฐิน” และเรียกผ้านั้นว่า “กฐินจีวรทุสฺส” หรือ “กฐินทุสฺส” แปลว่า “ผ้ากฐิน”


ชาวบ้านรู้ว่ามีพุทธานุญาตเช่นนั้น จึงเอาผ้าไปถวายให้เป็นของสงฆ์ เพื่อให้หมู่ภิกษุเอาไปทำ “ผ้ากฐิน” ตามพุทธานุญาต


และกฐินตามพุทธานุญาตนั้นต้องการผ้าเพียงผืนเดียว เมื่อรับถวายผ้าจากเจ้าภาพคนใดแล้วก็ปิดรับทันที จะรับเป็นผืนที่ ๒ ที่ ๓ เพื่อเอามาทำเป็นผ้ากฐินอีกไม่ได้


ด้วยเหตุที่ (๑) ผ้ากฐินปรากฏตัวผู้ถวายชัดเจน (๒) สงฆ์ผู้รับก็มีตัวปรากฏอยู่ชัดเจน เมื่อถวายจึงไม่ต้องเอาไป “กอง” ไว้กับพื้นเหมือนผ้าป่า แต่ถือเข้าไปถวายสงฆ์ได้โดยตรง


ดังนั้น กฐินจึงไม่ต้องกอง และกฐินที่เป็นกองๆ ก็จึงไม่มี


ขอความกรุณาช่วยกันศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจกันหน่อยนะครับ

จะได้ไม่ทำเรื่องที่ผิดพลาดเบี่ยงเบน

และไม่ไปสนับสนุนคนที่ทำผิดพลาดเบี่ยงเบนเพราะความไม่รู้


นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๓

๑๐:๑๐