ສະບາຍດີຍິນດີຕ້ອນຮັບທຸກໆທ່ານເຂົ້າສູ່ເວັບໄຊ ເວັບນີ້ຈະພາທ່ານຮຽນຮູ້ໄປກັບເທັກໂນໂລຊີ ການຕິດຕໍ່ສື່ສານ ສາລະໜ້າຮູ້ ເຫດການຕ່າງໆ ບໍ່ວ່າທ່ານຈະຢູ່ໃສບ່ອນໃດຂອງໂລກ ກໍ່ສາມາດຕິດຕໍ່ສື່ສານຫາກັນໄດ້ ກັບໄອທີ ໂລກຂອງຄົນຍຸກໃໝ່ ຍຸກແຫ່ງການຕິດຕໍ່ສື່ສານ.

ກ່ຽວກັບຂໍ້ມູນນັກສືກສາສາຍໄອທີ IT.ປີ 2 ວິຊາ: ອິນເຕີເນັດ: ກຸ່ມ: https://khamchan123.blogspot.com, ສົນໃຈລົງໂຄສະນາຂອງທ່ານຕິດຕໍ່ໄດ້ທີ່, E-mail: khamchan9358@gmail.com ຫຼື ຕິດຕໍ່ໄດ້ທີ່ເບີ:020 9608573 , 1. ຊື່ ພຮະ ຄຳຈັນ ທຳມະວົງ ແມ່ນເປັນຜູ້ຄວບຄຸມທັງໝົດ ຮຽນຢູ່ ວິທະຍາໄລ ທອງສະບາ ບໍ່ແກ້ວ ສາຍ ໄອທີ ວ.ດ.ປ ເກີດ 2./4/.1998 ທີ່ ບ້ານ ນ້ຳເດື່ອ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ ປະຈຸບັນຢູ່ບ້ານ ປາກຮາວເໜືອ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ. ເບີໂທ 020 96085734 KhamChan Thammavong ,2.ຊື່ ທ້າວ ປານ ຂັນທະວົງ ແມ່ນເປັນທີ່ປືກສາ ຮຽນຢູ່ ວິທະຍາໄລ ທອງສະບາ ບໍ່ແກ້ວ ສາຍ ໄອທີ ວ.ດ.ປ ເກີດ 14./3/.1998 ທີ່ ບ້ານ ສົມສະນຸກ ເມືອງ ຜ້າອຸດົມ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ ປະຈຸບັນຢູ່ບ້ານ ຕິນທາດ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງບໍ່ແກ້ວ. ເບີໂທ 020 54264461 https://web.facebook.com/pan.khanthavong.9,3.ຊື່ ທ້າວ ໄຊຍະສິດ ວຸດສະວົງ ແມ່ນເປັນທີ່ປືກສາ ຮຽນຢູ່ ວິທະຍາໄລ ທອງສະບາ ບໍ່ແກ້ວ ສາຍ ໄອທີ ວ.ດ.ປ ເກີດ 8./8/.1997 ທີ່ ບ້ານ ບ້ານດານ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ ປະຈຸບັນຢູ່ບ້ານ ວຽງໃໝ່ ເມືອງ ຫ້ວຍຊາຍ ແຂວງ ບໍ່ແກ້ວ. ເບີໂທ 020 5443540 https://web.facebook.com/profile.php?id=100039162977905

/

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2563

#ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์คือพระนิพพานต้องอ่าน

 #ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์คือพระนิพพานต้องอ่าน

โลกุตรภูมิ คือ ภูมิหรือชั้นที่พ้นจากภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หมายถึง ระดับจิตของพระอริยบุคคลที่พ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาดตามลำดับและรวมถึงอมตมหานิพพานด้วย


1. #ภูมิของพระโสดาบัน เป็นภูมิลำดับแรกในโลกุตรภูมิ เป็นภูมิที่พ้นจากภพ 3 ของผู้ถึงกระแสพระนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น ผู้ที่เป็นพระโสดาบัน มีคุณวิเศษสามารถละสังโยชน์ได้ 3 อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส จะกลับมาเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ


2. #ภูมิของพระสกิทาคามี เป็นโลกุตรภูมิลำดับที่ 2 เป็นภูมิที่พ้นจากภพ 3 ของผู้ที่จะกลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียว ผู้ที่จะเข้าถึงสภาวะของความเป็นพระสกิทาคามี จะต้องผ่านความเป็นพระโสดาบันก่อน พระสกิทาคามี มีคุณวิเศษสามารถละสังโยชน์ที่พระโสดาบันละได้ และสามารถขจัดสังโยชน์เพิ่มอีก 2 ตัว คือ กามราคะ และปฏิฆะ ให้เบาบางลงได้อีกด้วย


3. #ภูมิของพระอนาคามี เป็นโลกุตรภูมิลำดับที่ 3 ของโลกุตรภูมิ ซึ่งจะต้องเจริญภาวนาผ่านความเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามีมาตามลำดับ จึงจะเข้าถึงภาวะแห่งความเป็นพระอนาคามี พระอนาคามีมีคุณวิเศษสามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 5 อย่าง ซึ่งละสังโยชน์ต่อจากพระสกิทาคามีอีก 2 อย่าง คือ กามราคะ และปฏิฆะ ผู้ที่เป็นพระอนาคามี เมื่อละโลกแล้ว จะบังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสและบรรลุพระอรหันต์บนนั้น ไม่กลับมาเกิดอีก


4. #ภูมิของพระอรหันต์ เป็นโลกุตรภูมิลำดับสุดท้าย อันเป็นภูมิขั้นสูงสุดของโลกุตรภูมิ เป็นเป้าหมายอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ การจะเป็นพระอรหันต์จะต้องเจริญภาวนาผ่านความเป็นอริยบุคคลทั้ง 3 ขั้นมาตามลำดับ แล้วจึงจะเข้าถึงภาวะแห่งความเป็นพระอรหันต์ได้ คุณวิเศษของพระอรหันต์ คือ นอกจากละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ 5 ประการแล้ว ในขั้นนี้สามารถละสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เมื่อละกิเลสได้หมดแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ อันเป็นการทำกิจของการเกิดเป็นมนุษย์ได้สมบูรณ์แล้ว เป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อย่างเต็มเปี่ยม เป็นผู้ที่ควรแก่การบูชา และได้ชื่อว่าเป็นทักขิไณยบุคคลโดยแท้


ตายแล้วไปไหนชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร อารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตาย มี 3 ประการ สรรพสัตว์ย่อมตายไปเพราะเหตุแห่งความตาย 4 ประการ เมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น อารมณ์ 3 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏแก่สัตว์ทางทวาร 6 ใน ทวารใดทวารหนึ่ง ได้โดยอำนาจของกรรมทั้งสองคือ อุปปัชชเวทนียกรรมและอปราปรเวทนียกรรม (ในภาคปฏิบัติหมายถึงดวงบุญหรือบาปจะมาฉายภาพให้เห็นการกระทำของตน และอุปกรณ์ประกอบกรรม หรือภพที่จะไปเกิดใหม่) ตามสมควร คือ


1. กรรมอารมณ์ 2. กรรมนิมิตอารมณ์


3. คตินิมิตอารมณ์


1. กรรมอารมณ์ หมายถึง เจตนาที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่เป็นสภาวธรรมล้วนๆ ที่มาปรากฏทางความรู้สึกนึกคิดที่ตนเคยประสบมาแล้วในอดีตกี่ภพกี่ชาติก็ตาม เช่น ความรู้สึกดีใจปีติ เพราะเคยไหว้เจดีย์ ความศรัทธาในพระสงฆ์องค์โน้น หรือ ความรู้สึกโกรธเกลียด รู้สึกกำหนัดยินดีในแก้วแหวนเงินทองในบุคคล ที่เคยเกิดแล้วขณะทำกรรมในอดีต จะมาปรากฏอีกครั้งในขณะนั้นตอนใกล้ตายเหมือนกับเพิ่งจะเกิดใหม่ กรรมใดจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ตามชนิดใดชนิดหนึ่งได้โอกาสจักให้ผลปฏิสนธิในภพใหม่ กรรมที่ได้โอกาสนั้นย่อมปรากฏขึ้นโดยอำนาจแห่งสภาวะของกรรม และมาปรากฏทางใจอย่างเดียว สรุปคือสภาวะที่ทำให้เศร้าหมองหรือผ่องใสนั่นเอง กรรมอารมณ์นี้ บางตำราว่าหมายถึง ความคิด คำพูด หรือการกระทำทางกายของตน ที่เคยทำมาในอดีตมาฉายภาพให้เห็นทางใจตอนใกล้ตาย


2. กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึง อารมณ์กรรมที่เป็นประธาน (อุปลทฺธปุพฺพํ) คือ อารมณ์ 6 มีรูปเสียงเป็นต้น ที่เคยได้เห็นได้ยินเป็นต้น รวมทั้งรูปนาม บัญญัติ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำของตน และวัตถุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นบริวารของกรรมที่เป็นประธานนั้นที่ตนเคยใช้ประกอบในการกระทำกรรมนั้นๆ เช่น เคยใช้ประกอบในการกระทำกรรมนั้นๆ เช่น ต้องการถวายจีวร จีวรเป็นอารมณ์หลัก ส่วนอุปกรณ์ที่ประกอบการถวายจีวรให้สำเร็จ เช่น พระภิกษุ ไทยธรรมอื่นๆ เป็นบริวารกรรมที่จะให้การถวายจีวรสำเร็จ กรรมนิมิตนี้จะมาปรากฏทางทวารใดทวารหนึ่งในทวารทั้ง 6 ได้ดังนี้


ถ้าเป็นอดีตกรรมนิมิต ก็เป็นอดีตอารมณ์ ย่อมเกิดในมโนทวารอย่างเดียว ถ้าเป็นปัจจุบันกรรมนิมิต ก็เป็นปัจจุบันอารมณ์ ย่อมเกิดได้ทั้ง 6 ทวารตามสมควร : 1. ฝ่ายกุศลกรรม เช่น ได้เห็นพระเจดีย์ ได้ยินเสียงพระแสดงธรรม ได้กลิ่นธูปเทียนหอมที่บูชาพระรัตนตรัย ได้ลิ้มรสอาหารที่ตนเคยถวายพระ ได้สัมผัสผ้านุ่มๆ เหมือนจีวรที่เคยถวายพระ เป็นต้น, 2. ฝ่ายอกุศลกรรม เช่น ได้เห็นสัตว์ที่ตนฆ่า ได้ยินเสียงสัตว์ที่ตนฆ่าร้อง ได้กลิ่นคาวเลือด รสสุราที่เคยดื่ม มาปรากฏทางลิ้นรู้สึกเปรี้ยวปากอย่างดื่มขึ้นมาทันทีหรือรู้สึกเหนื่อยกายเหมือนตอนทำอกุศลกรรมนั้น หรือ ความรู้สึกนึกคิดขณะนั้น เช่น เกิดความโกรธ ความกำหนัดยินดีในขณะนั้น เป็นต้น


3. คตินิมิตอารมณ์ หมายถึง อารมณ์ 6 ที่จะได้รับในภพหน้าที่จะเกิด มี 2 ประการ


ก. อุปลภิตัพพคตินิมิตอารมณ์ คือ คตินิมิตตารมณ์ในภพที่จะเกิดโดยตรง เช่น จะเกิดเป็นมนุษย์ ก็จักเห็นครรภ์มารดา จะเกิดเป็นเทวดา จักได้เห็นเทพบุตรเทพธิดาหรือวิมาน จะเกิดเป็นสัตว์นรก จักได้เห็นเปลวไฟ เห็นนายนิรยบาล จะเกิดเป็นเปรต จักได้เห็นหุบเขาที่มีสภาพมืดมนเป็นต้น


ข. อุปโภคคตินิมิตอารมณ์ คือ เครื่องใช้สอยในภพนั้นๆ เช่น ถ้าจะเกิดเป็นเทวดา ก็จะเห็นตนเองได้นั่งอยู่บนเทวรถ กำลังเสวยสุธาโภชน์ร่วมกับเหล่าเทพ ถ้าจะไปเกิดเป็นมนุษย์ เห็นตนกำลังสนทนาปราศรัยกับคน ประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่งบนมนุษย์โลก รู้สึกว่าตนอยู่ในครรภ์ ถ้าจะไปเป็นสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง จะเห็นอาหารสัตว์ชนิดนั้นหรือกำลังเล่นอยู่กับสัตว์เหล่านั้น ถ้าจะเป็นสัตว์นรก จะรู้สึกว่าตนกำลังถูกจองจำ ทุบตีด้วยอาวุธ ถูกสุนัขนรกไล่กัดเป็นต้น


ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลักธรรมสำคัญที่นำไปสู่เป้าหมายสูงสุด โครงสร้างองค์รวมและลักษณะคำสอนในพระไตรปิฎก ศึกษาความสำคัญ ความหมาย และวิธีปฏิบัติในเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษา หัวข้อธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง หลักการ วิธีการปฏิบัติ และมารยาทพื้นฐานต่อพระรัตนตรัย


ความกตัญญู

 

ความกตัญญู

 

ความกตัญญู
พระพุทธศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี 
คนดีย่อมเป็นที่ปราถนาที่ต้องการในที่ทุกหนทุกแห่งในทุกกิจการ และใน
ทุกยุคทุกสมัย คนดีทำให้ครอบครัวเจริญ โรงเรียนเจริญ ชุมชนเจริญ สังคมและประเทศชาติเจริญ คนดีอยู่ใน
ครอบครัวใด โรงเรียนใดและสังคมใด ครอบครัว โรงเรียน และสังคมนั้นๆ ย่อมมีความสุข ความกตัญญู คือ คุณสมบัติและสัญลักษณ์ของคนดี กตัญญูกับกตเวทีรวมเป็นกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมคู่กันเสมอ เป็นหลักถือปฏิบัติใน
การดำเนินชีวิตของสัตบุรุษ คือ คนดี หรือคนในอุดมคตินั่นเอง ในสังคมชาวพุทธ คนมีกตัญญูกตเวทีย่อมเป็น
ผู้ควรค่าแก่ความรัก เกียรติ ศักดิ์ศรี และการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น เพราะได้ปฏิบัติธรรมอันถือเป็นมงคลยิ่ง
ข้อหนึ่ง คือ ความกตัญญู บุคคลย่อมมีชีวิตประสบแต่ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง

ความคิดและความเชื่อตามวัฒนธรรมไทยนั้น สรรเสริญผู้มีความกตัญญูและตำหนิผู้ที่ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่นเป็นอย่างมาก คนไทยมีความเชื่อว่าผู้ที่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ จะมีความเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนผู้ที่เนรคุณนั้นจะประสบความวิบัติเป็นที่รังเกียจในสังคม ได้มีการเปรียบเทียบว่า คนที่เนรคุณนั้น 
เป็นคนไร้ค่ามีจิตใจกระด้างดังเนื้อหิน เขาจะกรุณาคนอื่นได้อย่างไรในเมื่อคนที่มีบุญคุณต่อเขา ยังทำให้เขา
สำนึกไม่ได้ 

กตัญญู เป็นธรรมอันเป็นมงคลที่ 25 ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โดยเน้นให้นำไปพัฒนาคุณสมบัติของคนดีแปลตาม
ตัวหนังสือคือผู้รู้ว่า คนอื่นทำความความดีอะไรไว้แก่ตนบ้าง เอาความหมายสั้นๆ ว่าา "ผู้รู้คุณคน" การรู้บุญคุณคน
หรือรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้ตนเองนับถือเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์ เพราะเป็นการสอดคล้องกับหลักคำสอนว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ มีคนทำดีให้
กับเราแล้ว และเราได้รับผลประโยชน์จากการทำดีของเขา เป็นต้นว่า ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข แต่เรารับรู้แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่รับรู้คุณความดีของเขา ย่อมถือได้ว่าไม่ยุติธรรมต่อกัน

ทิศหก

 

ทิศหก

 

ทิศหก บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ 
๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา 
๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย
๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ 
๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง 

๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา : (หัวข้อ)
มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้
บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้ 
๑. ห้ามปรามจากความชั่ว 
๒. ให้ตั้งอยู่ในความด
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา 
๔. หาคู่ครองที่สมควรให้ 
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร 
๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ 
๒. ช่วยทำกิจของท่าน 
๓. ดำรงวงศ์สกุล 
๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท 
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน

๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : (หัวข้อ)
ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี 
๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง 
๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้
๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ 
๒. เข้าไปหา 
๓. ใฝ่ใจเรียน
๔. ปรนนิบัติ 
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา : (หัวข้อ)
สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้
ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้
๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา
๒. ไม่ดูหมิ่น 
๓. ไม่นอกใจ 
๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้ 
๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ ตามโอกาส
๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย 
๒.สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓. ไม่นอกใจ 
๔. รักษาสมบัติที่หามาได้ 
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง 

๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย : (หัวข้อ)
พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้
มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน 
๒. พูดจามีน้ำใจ 
๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 
๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย 
๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน 
๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้ 
๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร 

๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ : (หัวข้อ)
คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้
พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา 
๒. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา 
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา 
๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ 
๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี 
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี 
๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ 

๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง : (หัวข้อ)
นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้
ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้
๑. จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ 
๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่
๓. จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยาม
เจ็บไข้ เป็นต้น 
๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้ 
๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร
๑. เริ่มทำงานก่อน 
๒. เลิกงานทีหลัง 
๓.เอาแต่ของที่นายให้ 
๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น 
๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

 

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

 

..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา
 ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :- 
..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค 
....

 .สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
.....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
 สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์ 
 .สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
 .สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
 .สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ) 
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา 
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ 
.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
 ....cอองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ 
..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
.....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
.....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
.....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า 

โลกธรรม 8

 

โลกธรรม 8

 

ความหมายของโลกธรรม 8
โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย 
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา 
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต 
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

อริยสัจ 4

 

อริยสัจ 4 

 

 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4 

1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์ 

2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง 

3. นิโรธ 
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน 

4. มรรค 
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

พรหมวิหาร 4

 

พรหมวิหาร 4

 

ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่ 

เมตตาความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณาความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตาความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขาการรู้จักวางเฉย

คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ 
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 

2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

สังคหวัตถุ 4

 

สังคหวัตถุ 4

 
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 

1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

อิทธิบาท 4

 

อิทธิบาท 4 

 

 คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน 

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่